คู่มือสหกิจศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดระบบการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษา และ 1 ภาคการศึกษาสหกิจศึกษามีระยะเวลาเท่ากับ 16 สัปดาห์หรือตลอดระยะเวลา 4 เดือน โดยแบ่งการปฏิบัติงานเป็น 2 ช่วง คือภาคต้นจะปฏิบัติงานระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน และภาคปลาย จะปฏิบัติงานระหว่างเดือน มกราคม – พฤษภาคม ของแต่ละปีการศึกษา
3. สำหรับคณะวิชาที่มีการบรรจุรายวิชาสหกิจศึกษาในหลักสูตรแล้ว รายวิชา สหกิจศึกษามีค่าเท่ากับ 6-9 หน่วยกิต
1. การจัดภาคการศึกษาสหกิจศึกษาเริ่มตั้งแต่ภาคปลายของนิสิตชั้น
ปีที่ 3 , ภาคต้น และ/หรือ ภาคปลายของนิสิต ชั้นปีที่ 4 ซึ่งคณะวิชาจะต้องกำหนดภาคการศึกษาที่นิสิตจะต้องไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาไว้ในแผนการเรียนซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคณะวิชา
2. กำหนดให้นิสิตสหกิจศึกษาจะต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานอย่างน้อย 16 สัปดาห์ หรือตลอดระยะเวลา 4 เดือน
หลักสูตรสหกิจศึกษาของ มก.
หน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบสหกิจศึกษา
1. คณะกรรมการพัฒนาโครงการสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบประสานงานระหว่างคณะและมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาให้มีความเหมาะสม
2. คณะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการประสานงานในการรับสมัครนิสิตเข้าร่วมโครงการ และจัดส่งนิสิตเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เตรียมความพร้อมนิสิต นิเทศงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานและคัดเลือกนิสิตสหกิจดีเด่นระดับคณะวิชา
3. ศูนย์ประสานงานสหกิจศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผลทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการติดต่อประสานงานกับคณะ/วิทยาเขต เบิกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการสหกิจศึกษาให้แก่คณะ ประชาสัมพันธ์และจัดสัมมนาในส่วนเกี่ยวกับโครงการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณสมบัตินิสิตสหกิจศึกษา
1.มีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
2. เป็นนิสิตในระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า 70 หน่วยกิต และสอบผ่านทุกรายวิชา
3. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เคยผิดระเบียบวินัยนิสิต
4. มีวุฒิภาวะและสามารถพัฒนาตนเองได้ดี
บทบาทและความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
1.นิสิตจะต้องปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างตั้งใจและเต็มความสามารถ
2. ในระหว่างปฏิบัติงานนิสิตจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
3. หมั่นฝึกฝนความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนไปและระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
4. สุภาพ อ่อนน้อม หลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งในสถานประกอบการทุกกรณี
5. ติดต่อและประสานงานให้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตนกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ
6. หากมีปัญหาในการปฏิบัติงานจะต้องรีบแจ้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาโดยทันที
7.นิสิตจะได้รับการประเมินจากอาจารย์นิเทศงานและพนักงานที่ปรึกษาและให้ส่งรายงานตามวัน เวลาที่กำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ประโยชน์ที่นิสิตจะได้รับจากการเข้าร่วมสหกิจศึกษา
1.ได้รับประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาที่เรียนเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียน
2. เกิดการเรียนรู้เข้าใจระบบงานมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ
3. ส่งผลให้มีผลการเรียนดีขึ้นหลังการปฏิบัติงาน เนื่องด้วยมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้นจากประสบการณ์ การปฏิบัติงานจริง
4. มีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. เกิดทักษะการสื่อสารข้อมูล (Communication Skills)
6.สามารถเลือกสายอาชีพได้ถูกต้อง เนื่องจากได้รับทราบความถนัดของตนเองมากขึ้น
7. สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอาชีพเดียวกัน
8.ได้ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
9.สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทำงานที่มากกว่า และมีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงานสหกิจศึกษา
1.กำหนดภาคการศึกษาสหกิจศึกษา ภาคต้น ภาคปลาย ในแต่ละปีการศึกษา
2. คัดเลือกสถานประกอบการ พร้อมเสนอรายละเอียดให้นิสิตที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ
3. รับสมัครเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา นิสิตจะต้องที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยยื่นแบบคำร้องที่คณะเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา และปฏิบัติงานตามเงื่อนไขของแต่ละคณะกำหนด ทั้งนี้คณะจะเป็นผู้คัดเลือกนิสิตเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา
4. คณะดำเนินการเตรียมความพร้อมนิสิต
5. การเลือกตำแหน่งงานและสถานประกอบการ
6. การเขียนใบสมัครและประวัติส่วนตัว
7. การนำเสนอโครงการและผลงาน
8. การเขียนรายงานวิชาการ ฯลฯ
9. ส่งใบสมัครนิสิตให้คณะที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อติดต่อประสานงานและส่งให้สถานประกอบการพิจารณาคัดเลือก
10. จัดส่งนิสิตสหกิจศึกษาไปยังสถานประกอบการพร้อมเอกสารต่างๆ
11. จัดอาจารย์นิเทศ เพื่อนิเทศงานนิสิตระหว่างการปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ
12.สัมมนาภายหลังจากการปฏิบัติงาน
13. ประเมินผล
14. คัดเลือกนิสิตสหกิจศึกษาดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15. มอบหนังสือรับรองให้แก่นิสิตที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาและใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นิสิตสหกิจศึกษาดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์